แล้วการเช่าซื้อมันคืออะไรกันแน่นะ? การเช่าซื้อมีอยู่หลายชนิดด้วยกันแต่ที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือการเช่าทรัพย์สินของบริษัทปล่อยเช่า ถ้าคุณอยากได้รถยนต์ มีทางเลือกที่ให้คุณ จ่ายเพื่อเช่าซื้อแทนการจ่ายด้วยเงินของคุณเอง! 🤩 มาดูกันสิว่ามันทำงานอย่างไร?
“การเช่าซื้อเป็นการจัดการทางการเงินระหว่างบุคคลกับบริษัท เช่นการจ่ายเพิ่มสิทธิ์ในพื้นที่, ยานพาหนะ และอื่น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง” — Cambridge Dictionary
เมื่อคุณเข้าใจเกี่ยวกับการเช่าซื้อมากขึ้นแล้ว เราจะมาเริ่มพูดคุยในเรื่องประเภทที่พบบ่อย, วัตถุประสงค์ใช้เพื่ออะไรได้บ้าง, และทั้งข้อดีข้อเสียของมัน
ชนิดของการเช่าซื้อ 👀
เนื่องจากมีความตกลงการเช่าซื้ออยู่หลายชนิด คงจะเป็นการดีหากคุณมีทางเลือกที่เหมาะกับสถานการณ์ของคุณให้ได้มากที่สุด มีอยู่ 3 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้:
สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial leasing)💰
ลองจินตนาการดูว่า หากคุณต้องการซื้ออุปกรณ์ให้กับบริษัท ถ้าคุณพิจารณาสัญญาเช่าทางการเงิน คุณจะต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับบริษัทปล่อยกู้ในรูปแบบของสัญญาเช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ⏳ บริษัทปล่อยกู้ (lessor) เป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ดังนั้นจะไม่มีความรับผิดชอบในการซ่อมและบำรุงและไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้ 🛠️
ในช่วงท้าย อุปกรณ์ต่างจะยังเป็นของบริษัทปล่อยกู้อยู่ หรือถ้าคุณอยากเป็นเจ้าของ ก็ต้องจ่ายส่วนที่เหลือแก่บริษัทให้ครบตามจำนวน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ระหว่างการผ่อนนั้น แต่มันก็ถือเป็นแนวทางการใช้เงินที่ดีนะ! 🤔
สัญญาเช่าดำเนินการ (Operating Leasing) 💰
สำหรับสัญญาเช่าดำเนินการ คุณต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน (ค่าเช่าอุปกรณ์) ตลอดระยะเวลาที่ตกลงไว้กับบริษัทปล่อยกู้ ในกรณีนี้ผู้ปล่อยจะมีหน้าที่จ่ายค่าซ่อมบำรุงด้วย โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถยกเลิกสัญญาได้เมื่อตกลงกัน
การเช่าประเภทนี้ สินทรัพย์ยังคงอยู่ภายใต้การครอบครองของบริษัท (ผู้ปล่อยกู้) และจะไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ อย่างไรก็ตามภายหลังครบสัญญาอุปกรณ์ต่าง ๆ จะกลับไปเป็นของบริษัทตามเดิมในลักษณะการขายคืน แน่นอนว่าคุณสามารถซื้อกลับมาได้แต่ราคาจะถูกกำหนดโดยตลาด — เมื่อเทียบกับสัญญาเช่าทางการเงินแล้ว ซึ่งแทบจะมีค่าเป็นศูนย์
การขายและการเช่ากลับคืน (Sale and lease back)💰
การเช่าซื้อประเภทนี้สะดวกกับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินสดแบบเร่งด่วน คุณสามารถเสนอขายทรัพย์สินในช่วงแรก และบริษัทปล่อยกู้จะซื้อเพื่อนำมาให้คุณเช่าอีกครั้งหนึ่ง
ข้อดีของการเช่าซื้อ ✅
ถึงแม้ว่าการเช่าซื้อจะดูเหมือนการกู้เงินธรรมดา เมื่อเทียบกับการกู้เงินจากธนาคารแล้ว มันเข้าถึงง่ายกว่าและดำเนินการได้ง่ายกว่ามาก บริษัทปล่อยกู้ก็เสี่ยงน้อยกว่า เพราะสามารถยึดทรัพย์สินคืนได้หากจ่ายไม่ครบตามสัญญา ข้อดีด้านอื่นมีดังต่อไปนี้:
- จ่ายต่อเดือนและค่าส่วนแรกน้อยลง
- แทบไม่ต้องลงทุนก้อนแรก เป้าหมายคือให้เงินได้ทำงานถูกที่ถูกทาง (เช่น คุณสามารถลงเงินกับธุรกิจได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สิน)
- กู้ง่ายกว่าเงินกู้จากธนาคาร ใช้เอกสารน้อยกว่ามาก
- การเช่าซื้อจะช่วยบริษัท มีสัดส่วนหนี้สิน-หุ้นสามัญได้อย่างสมดุล เพราะจะไปแสดงในงบดุล (แต่ไม่นับรวมเป็นความรับผิดชอบนะ)
- โอกาสล้มละลายลดลง จากการหักภาษีรายได้
- คืนเงินได้เร็ว เป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้รวดเร็ว (เทียบกับขั้นตอนที่ยุ่งยากของการกู้เงินจากธนาคาร)
ข้อเสียของการเช่าซื้อ ❌
หากจะพิจารณาการเช่าซื้อให้เป้นรูปแบบทางการเงินอย่างหนึ่งอยู่ใช่ไหม? คุณควรระมัดระวังเกี่ยวกับข้อเสียเหล่านี้เสียก่อน:
- อาจต้องจ่ายค่าส่วนแรกในบางกรณี สำหรับสัญญาเช่าทางการเงิน
- ค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว โดยเฉพาะถ้าคุณจะไม่ซื้อทรัพย์สินในตอนท้าย จะกลายเป็นว่าแพงกว่าซื้อเองตั้งแต่แรกก็ได้
- การบอกเลิกสัญญาทำได้ยาก เนื่องจากมีบทลงโทษและการยกเลิกนั้นมีข้อบังคับมากมาย
- คุณไม่ได้เป็นเจ้าของ จึงขาดโอกาสในการดัดแปลงด้วยตนเอง เพราะคุณต้องคืนทุกอย่างในสภาพเดิม
การเช่าซื้อเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับทั้งแบบนิติบุคคลและแบบธุรกิจ สำหรับทรัพย์สินอย่างเช่น รถยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็เหมือนกับการตัดสินใจทุกอย่าง เราแนะนำว่าให้คิดให้รอบคอบและทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายนี้กับรายจ่ายแต่ละเดือน เพื่อดูว่ายังไม่เกินวงเงินที่มี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคิดจะเช่าซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง (ค่าผ่อนชำระ, ค่าน้ำมัน, ค่าซ่อมบำรุง และอื่น ๆ) ควรอยู่ที่ 5–15% โดยอาศัยกฎ 50–30–20 ตามที่อธิบายไว้ใน ในบทความนี้