ครั้งที่แล้ว เราสอนคุณวิธีการจัดการรายได้เพื่อ เพิ่มกระแสเงินสด โดยการใช้กฏ 50/30/20 ร่วมกับระบบการตั้งงบประมาณใน Spendee คุณพร้อมจะไปสู่อีกขั้นของการตั้งงบประมาณกันหรือยัง?
คุณคงทราบดีแล้วว่าก้าวแรกของความสำเร็จในการจัดการทางการเงินนั้น ก็คือการเก็บออมหรือการนำเงินไปลงทุนอย่างน้อยให้ได้ 20% ของรายได้สุทธิ! 💰 เราอยากแสดงวิธีจัดสรรปันส่วนรายได้ของคุณให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
การใช้งบประมาณในรูปแบบหมวดหมู่เฉพาะตัว
หลังจากที่เราแยกเงิน 80% ไว้นั้น — เราใช้มันอย่างไรกันนะ? การที่รู้ว่า 50% ของรายได้สุทธิควรใช้เพื่อสิ่งจำเป็น & และ 30% สำหรับซื้อของส่วนตัวเพียงพอหรือยัง? ถ้ามันเหมาะกับคุณแล้วการรู้เพียงเท่านั้นก็เพียงพอ แต่บางทีคุณอาจลำบากกับการจัดสรรเงินให้แม่นยำตามหมวดหมู่การใช้จ่ายอยู่ก็ได้ มาดูกันว่าอะไรบ้างที่ควรจัดอยู่ในหมวดสำคัญและไม่สำคัญ & คำแนะนำให้ตั้งงบประมาณที่เปอร์เซ็นต์เท่าไหร่กันบ้าง! 💸
เราเข้าใจดีว่าการจัดสรรประเภทนี้ มักขึ้นกับพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่ แต่โปรดรับเอาข้อมูลเหล่านี้ไว้พิจารณา เพราะเป็นข้อมูลแนะนำทั่วไปที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ตามที่คุณต้องการได้
ค่าใช้จ่ายจำเป็น (50%)
รายจ่ายส่วนนี้มักเกี่ยวข้องกับความต้องการของคุณ — สิ่งที่ต้องมีในชีวิตประจำวันอย่างขาดไม่ได้ 🙅🏼♂️ แน่นอนว่าการมีที่อยู่อาศัย มีอาหารให้กินไม่ได้เป็นเพียงสิ่งจำเป็นเท่านั้น นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ ยังมีบิลสำคัญที่ยังต้องจ่ายอยู่: มาดูกันเลย
ค่าที่อยู่อาศัย (20–35%) & ค่าสาธารณูปโภค (5–10%) 🏡
ทุกคนน่าจะเห็นพ้องต้องกันว่า หมวดหมู่นี้เป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน! 😱 แถมยังเป็นจุดที่สังเกตได้ว่าคุณใช้ชีวิตอยู่เหนือกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป หากคุณกำหนดงบประมาณไว้สำหรับหมวดหมู่นี้คุณจะสามารถติดตามสิ่งที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยได้ทุกรายการ 🛁 อาจจะเป็นยอดชำระรายเดือน, อุปกรณ์ที่จำเป็น หรือผ่อนจำนอง — หรืออะไรก้ตามที่เกี่ยวข้องกับตัวบ้าน
ค่าอาหาร 🥐 (10–15%)
คุณยังต้องบริโภค แต่ก็ไม่จำเป็นต้องไปกันนอกบ้านทุกครั้งนี่นา! 🍽 เราเข้าใจว่าทุกคนต่างก็มีความสุขกับอาหารในรูปแบบแตกต่างกันออกไป — บางคนอาจจะมองแค่เป็นสิ่งจำเป็น แต่สำหรับบางคนอาจคิดว่าเป็นการใช้เงินเพื่อความสนุกสนานด้วยเช่นกัน ขึ้นกับการแบ่งสัดส่วนทั้งสิ้น! เราแนะนำให้เก็บ 10% ของรายได้สุทธิไปกับค่าอาหาร อย่างไรก็ตามถ้าคุณชอบสไตล์ไปกินข้าวนอกบ้าน คุณสามารถใช้ 10% นั้นสำหรับอาหารสดได้ แล้วติดตามรายจ่ายอื่นได้ที่ส่วนตัวหรือความบันเทิง แล้วแต่คุณเลยนะ!
📚 บทความแนะนำ:
ค่าประกันภัย 💊 (5–15%)
การรวมข้อมูลประกันภัยของคุณทั้งหมดไว้ในที่เดียวเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดมากเลย! 🚑 ไม่ว่าจะเป็นประกันทุพพลภาพ, ประกันรถยนต์ หรือประกันสุขภาพ (และอื่น ๆ อีกมากมาย!) คุณควรรู้ว่าคุณต้องจ่ายส่วนนี้ทั้งหมดเท่าไหร่
ค่ารักษาพยาบาล 👨🏼⚕️ (5–10%)
ค่ารักษาพยาบาลนั้นมีความผันผวนมากกว่าค่าประกัน — ถึงแม้ว่าจะมีความสำคัญพอ ๆ กัน ในทุก ๆ ค่ายา, ค่าพบแพทย์, ค่าอุปกรณ์การแพทย์ หรือค่าบริการทางการแพทย์ต่างก็ต้องรวมไว้ในหมวดหมู่นี้ 👨🏼⚕️
ค่าโดยสาร 🚘 (5–15%)
คุณจะอาศัยอยู่ที่ไหนไม่สำคัญ มันสำคัญที่ว่าคุณเดินทางอย่างไรในชีวิตประจำวัน ตามหลักแล้วคุณสามารถรวมจ่ายทุกรายการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง — เช่นค่าตั๋วโดยสารสาธารณะ, ค่าผ่อนรถ, ค่าทางด่วน หรือค่าซ่อมบำรุงรักษา เป็นต้น 🛠 ระหว่างที่เรากำลังรายจ่ายจำเป็นกันอยู่นี้ เราไม่แนะนำให้ใช้งบส่วนนี้ไปกับการท่องเที่ยวหรอกนะ
รายจ่ายส่วนตัว (30%)
รายจ่ายส่วนนี้จะเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของคุณ และครอบคลุมไปถึงการเลือกซื้อหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็น แต่ถ้ามีก็ดีอะไรประมาณนี้ 🍀 และจะเป็นส่วนที่คุณสามารถเก็บออมได้มากที่สุดในแต่ละเดือน หรือจะเก็บเป็นเงินออมในเดือนถัดไปก็ได้เช่นเดียวกัน!
ส่วนตัว 🙋🏼♂️(5–10%)
หมวดหมู่นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์อีกประเภทหนึ่ง แต่เป็นการรวมเอารายจ่ายในการดูแลตัวเองเข้าไว้ด้วยกัน 💆🏼♀️ ยกตัวอย่างเช่น แฟชั่น, แมกกาซีน, ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือบัตรสมาชิกยิม เป็นต้น เนื่องจากการใช้เงินในหมวดนี้มีความหลากหลาย คุณสามารถเลือกได้ว่าจะจัดให้ค่าอะไรบ้างอยู่ในหมวดหมู่นี้ แล้วดำเนินการตามแผนให้สำเร็จ 🛍
ความบันเทิง 🎬 (5–10%)
พูดกันตามตรงเลยนะว่า — ชีวิตคนเราไม่ใช่แค่การทำงานและจ่ายค่านู่นค่านี่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การใช้จ่ายไปกับด้านความบันเทิงและความสนุก จะช่วยทำให้การใช้ชีวิตของคุณสมบูรณ์แบบได้มากขึ้น ⚽️ รายจ่ายส่วนนี้อาจประกอบไปด้วย คอนเสิร์ต, หนังสือ, วิดีโอเกม, กีฬา, งานอดิเรก, การท่องเที่ยว หรือค่าบริการสำหรับ Spotify หรือ Netflix ก็ได้ 🎧 มันหมายถึงอะไรก็ตามที่คุณทำในเวลาว่าง & เสริมสร้างพลังใจให้กับคุณได้!
เบ็ดเตล็ด 🧩 (5–10%)
ก็… หมวดหมู่นี้เป็นหมวดที่คุณตามหามาโดยตลอด! บางทีคุณอาจยังนึกไม่ออกว่าจะจัดไว้ในหมวดหมู่ไหนดี หรือคุณใช้ถึงลิมิตตามงบที่ตั้งไว้ในบางหมวดไปแล้ว 🤷🏼♀️ ไม่ต้องกังวลไป ยังมีอีก 10% ให้คุณได้ใช้จ่าย พร้อมทั้งยังคงดำเนินการไปตามแผนได้เหมือนเดิม
แล้วฉันจะเริ่มยังไงดีล่ะ? 💪🏼
เราเข้าใจดีว่า ทั้งหมวดหมู่และงบประมาณหลากหลายรูปแบบอาจทำให้คุณหนักใจ! 🤯 แต่ถึงยังไงคุณก็ได้เริ่มก้าวแรกมาแล้วนะ — นั่นก็คือเริ่มเข้าใจหลักการแบ่งสรรปันส่วนอย่างง่ายได้แล้ว อย่างที่เราบอกไปก่อนหน้านี้ว่า ไม่ต้องทำตามสัดส่วนของเราแบบเป๊ะ ๆ หรอกนะ — แค่เป็นคำแนะนำให้คุณได้เริ่มก้าวแรกเท่านั้นเอง 🥳 อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณอยู่ใช่ไหม? อ่านเพิ่มเติมได้ที่: การตั้งงบประมาณ 101: ทำความเข้าใจเรื่องการตั้งงบประมาณและเริ่มต้นใช้เงินของคุณให้คุ้มค่า
คุณมีปัญหากับการติดตามเงินในกลุ่มหมวดหมู่ไหนอยู่หรือเปล่า? เริ่มจากการตั้งงบประมาณฉบับเล็ก ๆ ดูก่อน — แล้วเราจะช่วยคุณเอง