คุณกำลังปวดหัวอยู่กับการใช้งานป้ายกำกับพวกนี้อยู่หรือเปล่า? 👀 หรือคุณพร้อมจะเรียนรู้วิธีการใช้มันแล้วใช่ไหม? ไม่ว่าจะเลือกทางไหน อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ได้เลย! ✅
ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้ว่าป้ายกำกับคืออะไร และคุณสามารถใช้มันให้เป็นประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
เมื่อมีการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง นอกจากจะระบุจำนวนเงิน & หมวดหมู่ได้แล้ว คุณยังจะเห็นว่ามีป้ายกำกับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้วย! 🤗 ซึ่งมันจะช่วยเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายในครั้งนั้น ๆ และยังสามารถนำมาคำนวณวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับเส้นทางการเงินของคุณได้ในอนาคต 👏 สามารถสร้างป้ายกำกับได้ทั้งง่ายและรวดเร็ว ดังนั้นคำถามตอนนี้ก็คือ — แล้วจะใช้งานยังไงล่ะ?
แนวทางในการใช้ป้ายกำกับ ⬇️
ติดป้ายแทนหมวดหมู่ย่อย 📦
คุณสามารถติดป้ายให้กับแต่ละหมวดหมู่เพื่อเพิ่มความจำเพาะให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น — คุณสามารถติดตาม รายจ่ายค่าอาหาร & เครื่องดื่ม และเลือกติดป้ายว่า “พิซซ่า”, “ร้านอาหาร” หรือ “ซื้อกลับบ้าน” ได้ตามต้องการ ทีนี้คุณก็ตามเช็คค่าอะไรก็ตามที่อยู่ในหมวด อาหาร & เครื่องดื่ม ได้แล้วล่ะ — เช่นชนิดอาหาร, ร้านอาหารพิเศษ แม้กระทั่งพฤติกรรมการเลือซื้อ (กินที่ร้านหรือซื้อกลับบ้าน)
เคล็ดลับ: วางแผนหมวดหมู่ย่อยของคุณไว้ล่วงหน้า 💪🏼 จะช่วยให้การวิเคราะห์ในอนาคตทำได้ง่ายขึ้นมาก! แต่จำไว้ว่า — ไม่เหมือนกันหมวดหมู่ย่อยนะ การติดป้ายไม่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่! มื้อเย็นที่คุณเพิ่งทานไปจะจัดอยู่ในหมวดหมู่ อาหาร & เครื่องดื่ม ถ้าคุณเพิ่มหมวดหมู่ย่อยก็จะเป็น “ร้านอาหาร” 🤷🏼♂️ ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ป้ายกำกับจะช่วยบอกรายละเอียดของมื้อนี้ว่าเป็น “มื้อเย็น 🍽” เจาะลึกลงไปเป็น “พิซซ่า 🍕” ในโอกาสที่คุณไป “เดต 💘” ใน “อิตาลี่ 🇮🇹” และจ่ายผ่าน “บัตร 💳”
ติดป้ายแทนวาระโอกาส🏝
การติดป้ายสามารถใช้ร่วมกับหมวดหมู่ในแต่ละโอกาสได้! เพียงใช้งานป้ายกำกับเพื่อติดตามเหตุการณ์เช่น วันเกิด, วันหยุด หรือการเตรียมตัวแต่งงานก็ยังได้ อยากรู้ว่าคุณจ่ายไปเท่าไหร่ตอนที่ไปเที่ยวพักร้อนอยู่ใช่ไหม — ทั้งค่าเดินทาง, ค่าที่พัก, ค่าอาหาร และค่าอื่น ๆ!
ติดป้ายแทนเครื่องมืองบประมาณ 💰
ถ้าคุณกำลังปฏิบัติตามกฏของการแบ่งงบอยู่ล่ะก็ คุณจะพบว่าการใช้ป้ายกำกับจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นอีกมาก ใช้ป้ายกำกับเพื่อแยกรายจ่ายจำเป็น (ต้องมี) และรายจ่ายส่วนตัว (ต้องการ) เพียงขั้นตอนง่าย ๆ เท่านี้ จะช่วยให้คุณจดจำว่าคุณจัดสรรไปกับค่าอะไรบ้างให้สอดคล้องกับ กฏ 50/30/20!
แนวทางในการใช้ป้ายกำกับรูปแบบอื่น ๆ ⬇️
แบบนี้หรือแบบนั้นดี
คอนเซ็ปต์นี้ใช้ได้กับหลายรายการ! ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณขึ้นรถแท็กซี่บ่อย ๆ — คุณอาจจะแยกติดป้ายเป็น “แท็กซี่🚕” หรือจะเป็น “Uber🚗” วิธีนี้จะทำให้แยกได้ละเอียดมากกว่าแค่ค่าเดินทาง ถ้าคุณเป็นคอกาแฟ คุณอาจจะแยกเป็นป้าย “กาแฟนอกบ้าน☕️” กับ “กาแฟสด” ที่คุณชงเองที่บ้าน อีกทั้งยังมีตัวอย่างมากมายหลายแบบสำหรับตัวอย่างการใช้งานแบบนี้ด้วยนะ!
ชื่อร้านค้า
หากคุณชื่นชอบการออกไปชอปปิ้ง 🥐 จากร้านค้าหลายแห่ง คุณสามารถใช้การติดป้ายชื่อสาขาของร้าน & วิเคราะห์ดูว่าคุณใช้จ่ายหรือธุรกรรมที่ไหนมากกว่ากัน หรือจะเป็นการหาอะไรทำสนุก ๆ ที่ร้านอาหารใกล้ที่ทำงาน อะไรก็เกิดขึ้นได้ จริงมั้ย!
ชื่อผู้คน
เวลาซื้อของขวัญให้ใครบางคน การติดป้ายจะช่วยให้คุณเห็นส่าซื้อให้ใครมากที่สุดกันแน่! ระวังอย่าให้เพื่อเห็นเชียวนะ พวกเขาอาจเกิดอิจฉาได้! 😜 เพียงแค่ติดป้ายกำกับว่า “BFF👭” หรือ “แม่”หรือ “เดวิด” เพื่อบ่งบอกรายจ่ายของคุณเอง
ช่องทางโดยสาร
เวลาที่คุณจัดหมวดหมู่ชนิดการเดินทาง (ยกตัวอย่างเช่น การไปท่องเที่ยวพักผ่อน) คุณอาจติดป้ายกำกับว่า “รถไฟ 🚂”, “บัส 🚌”, “เรือ ⚓️”, “เครื่องบิน ✈️” หรืออะไรก็ตาม การแบ่งแบบนี้อาจประยุกต์ใช้กับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เพื่อแยกว่าคุณใช้ไปกับอะไรบ้าง เช่น เครื่องประดับ, รองเท้า, กระเป๋า หรือเสื้อยืด ใส่ไอเดียไปได้เต็มที่เลยนะ!
เที่ยวพักผ่อนหรือทำงานพร้อมเที่ยวไปในตัว
หากคุณกำลังจะไปท่องเที่ยว หรือเดินทางไปทำงานทริปสั้น ๆ อยู่ล่ะก็ ลองสร้างป้ายกำกับสำหรับช่วงเวลานั้น ๆ ดูสิ ไป “บาหลี 🏖” หรือจะไป “ฮาวาย 🌋” ดีล่ะ?
มื้ออาหาร
ติดป้าย “มื้อเช้า 🥐”, “มื้อกลางวัน 🍝” หรือ “มื้อเย็น 🍕” เพื่อบ่งบอกรายการธุรกรรมในหมวดอาหาร & เครื่องดื่มของคุณ เพื่อทราบว่าใช้เงินไปกับหมวดหมู่ย่อยใดมากที่สุด แล้วคุณจะเลือกประหยัดเงินจากส่วนนั้นได้ไงล่ะ
แหล่งความบันเทิง
เดือนที่แล้วคุณใช้เงินไปกับ “โรงหนัง 📽”, “คอนเสิร์ต 🎤” หรือใน “โรงละคร 🎭” เท่าไหร่กันบ้าง? ให้รางวัลกับตัวเองบ้างก็ดีเหมือนกัน — อย่าลืมติดตามรายจ่ายส่วนนี้ไว้ด้วยนะ!
เงินสดหรือบัตร
หากคุณยังไม่มั่นใจที่จะเชื่อมต่อบัญชีธนาคารเข้ากับ Spendee คุณสามารถใช้แฮชแท็กเพื่อแยกประเภทรายการที่คุณจ่ายด้วย “เงินสด 💵” และจ่ายโดย “บัตร 💳” ออกจากกันได้
การวิเคราะห์ป้ายกำกับ 📊
มาถึงตรงนี้แล้ว คุณคงเข้าใจเกี่ยวกับป้ายกำกับว่าช่วยให้การแปลความหมายของการใช้เงินของคุณทำได้ลึกซึ้งมากขึ้นแล้วสินะ แต่มันทำงานยังไงกันล่ะ? คุณจะสังเกตเห็นรายชื่อของป้ายกำกับพร้อมกับยอดเงิน & จำนวนครั้งการทำธุรกรรมในส่วนของภาพรวม (Overview)เพราะฉะนั้น คุณสามารถคลิกไปดูการวิเคราะห์จากส่วนนี้ได้เลย!
บอกเราทีว่ารูปแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ! และอย่าลืมว่า — สามารถใช้ป้ายกำกับหลายอันได้เฉพาะในสมาชิกแบบ Plus & Premium เท่านั้นนะ!