ชีวิตคนเราช่างเต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด — จะหนักหรือเบาก็สุดแล้วแต่จังหวะของแต่ละคน บางทีอาจเปลี่ยนชีวิตคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ได้ 🤯 เป้าหมายสูงสุดของการจัดการเงินก็คือ ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ เพื่อให้มีพอเหลือเก็บได้บ้าง แต่มันเพียงพอแล้วหรือยังนะ? การทีเงินสำรองฉุกเฉินช่วยให้คุณแยกระหว่างเงินที่ “ห้ามแตะ” (หรือที่เรียกว่า เงินสำรองฉุกเฉิน) & และเงินอื่น ๆ ที่ใช้เพื่อการลงทุนหรือใช้เพื่อเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (เช่น การศึกษา, ท่องเที่ยว, ใช้ยามเกษียณ หรือเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น)
อธิบายคำว่าเงินสำรองฉุกเฉินอย่างง่าย ๆ ก็คือ บัญชีที่คุณเก็บไว้เพื่อค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน — Adam Hagerman 🚨
เก็บออมเงิน & ฝึกควบคุมตนเองให้ได้
อะไรคือสิ่งที่ฉุกเฉินสำหรับคุณ? รถเสียรอซ่อม? หรือจะเป็นทีวีเสีย? บางทีอาจจะหมายถึงการผ่าตัดที่ถึงเวลานัดแล้ว หรือจะเป็นน้ำท่วมบ้านก็ตาม แต่บางทีสมองของคุณอาจจะกรีดร้องว่า “ฉุกเฉิน” เมื่อเห็นป้ายลดกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ 70% ก็ได้ ใช่หรือเปล่า? ขณะที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ — คุณอาจจะเคยจัดเรียงความสำคัญในการใช้เงินในสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วก็เป็นได้ แล้วอะไรบ้างล่ะที่เงินสำรองฉุกเฉินจะช่วยได้?
1. ตกงาน 💼
ช่างเป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความเครียดเหลือเกิน และอาจใช้เวลาสักพักในการกลับไ ตั้งต้นใหม่อีกครั้ง ในสถานการณ์แบบนี้เงินสำรองฉุกเฉินช่วยคุณได้ ซึ่งมันสามารถต่อเวลาให้คุณมองหางานที่ใช่ (อาจเจองานในฝันก็ได้นะ!) และอย่าได้ตกไปอยู่ในสถานการณ์ที่คุณต้องไปหยิบยืมคนอื่น โดยปราศจากการคิดให้รอบคอบก่อนนะ
2. สุขภาพ 💊
ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์มักเอาแน่เอานอนไม่ได้ ถึงแม้ว่าคุณจะมีสุขภาพดี แต่มันก็อาจทำให้คุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากได้เช่นกัน อาจจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น ขาหัก, ค่าทำฟัน, การผ่าตัดที่มีความซับซ้อน เป็นต้น ไม่เพียงแค่สำหรับตัวคุณเองเท่านั้น — แต่ยังรวมถึงคนในครอบครัว, ลูก & สัตว์เลี้ยงอีกด้วย
3. รถยนต์ 🚘
หากคุณใช้รถยนต์ในการเดินทางประจำวันแล้วล่ะก็ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมองว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะใช้เงินสำรองฉุกเฉินเพื่อซื้อรถรุ่นใหม่ หรือใช้ไปกับค่าซ่อมบำรุงได้นะ มันแค่หมายถึงคุณจะยังมีเงินในกระเป๋าตอนที่มันพังแบบซ่อมไม่ได้แล้วต่างหาก
4. เรื่องไม่คาดคิดในครอบครัว 👫
การเจ็บป่วยหรือการสูญเสียของบุคคลอันเป็นที่รักเป็นสิ่งที่ควรนำมาคิด โดยเฉพาะคนที่มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เหล่านี้มีหลายประการ เพราะฉะนั้นคุณต้องรู้ว่าต้องมีเท่าไหร่จะได้เตรียมรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
5. ที่อยู่อาศัย 🏡
ถ้าหลังคาบ้านมีรอยรั่ว คุณสามารถใช้เงินส่วนนี้เพื่อซ่อมแซมได้ ถ้าฮีตเตอร์ไม่ทำงานในหน้าหนาว คุณก็อาจจะบอกว่าเป็นภาวฉุกเฉินได้เช่นกัน แต่สำหรับการที่มองว่าทีวีคุณล้าสมัยหรือเครื่องซักผ้าส่งเสียงดังเมื่อใช้งานไปนาน ๆ คุณต้องไปใช้เงินจากส่วนอื่นแล้วล่ะ ไม่ใช่จากเงินสำรองฉุกเฉินก้อนนี้
คุณจะนอนหลับได้ถ้าทำมันอย่างถูกต้อง
เรารู้ดีว่าการกันเงินเอาไว้ต้องใช้การยับยั้งชั่งใจอย่างมาก เพื่อไม่ให้ซื้อสิ่งที่คุณต้องการ ณ ขณะนั้น แต่ขอให้นึกถึงชีวิตอิสระในอนาคตเอาไว้นะ เมื่อคุณมีเงินสำรองฉุกเฉินมากพอแล้ว คุณไม่ต้องไปยุ่งกับเงินส่วนนั้นอีกเลย (จนกว่าจะเกิดเหตุขึ้น) แล้วคุณจะสอบผ่านบททดสอบก้าวแรกของการเป็น “ผู้ใหญ่ที่รู้จักความรับผิดชอบ” ได้อย่างสบาย ๆ จากที่กล่าวไปแล้วว่า มันจะช่วยให้คุณเป็นอิสระ… อิสระจากหนี้สิน อิสระการไปหยิบยืมคนนู้นคนนี้โดยไม่ทันยั้งคิด หากเป็นไปได้จะดีกว่ามั้ยถ้าคุณจะเลือกวิธีที่ปลอดภัย ด้วยการพึ่งพาเงินของคุณเอง
ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินมากเท่าไหร่
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรมีอย่างน้อย 3 เท่าของรายจ่ายโดยเฉลี่ย ในขณะที่ตามอุดมคติแล้วควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายให้ได้ 6 เดือน
วิธีการสร้างเงินสำรองฉุกเฉินด้วย Spendee
1. คุณต้องมีภาพรวมของเส้นทางการเงินทุกอย่างที่ชัดเจน ซึ่งคุณทำขั้นตอนนี้ไว้แล้ว — เพราะคุณใช้งาน Spendee 👏🏼
2. ตั้งงบประมาณ ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนอยู่ใช่ไหม? นี่เป็นเหตุผลที่เราเตรียมบทความนี้ไว้สำหรับคุณ
3. คำนวณค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยแต่ละเดือนของคุณ! ใช้ข้อมูลจากสามเดือนล่าสุดเจ้าด้วยกัน แล้วหารผลรวมด้วยสาม เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยมา! มันจะง่ายมากขึ้นเมื่อคุณใช้การจัดหมวดหมู่แบบอัตโนมัติ เพราะการเชื่อมต่อกับธนาคารจะช่วยให้คุณเห็นค่าใช้จ่ายย้อนหลังไปได้อีกด้วย!
4. เริ่มสร้างเงินสำรองฉุกเฉินของคุณ ไปอย่างช้า ๆ! ตั้งเป้าหมายแรกไว้เทียบกับรายจ่ายโดยเฉลี่ยของแค่หนึ่งเดือนก่อน แล้วเฝ้าติดตามรายจ่ายอย่างต่อเนื่อง และเฝ้ามองเงินเก็บของคุณที่เพิ่มมากขึ้นได้เลย